1
พฤศจิกายน 2555
อ่างปลาหรือกระลาลอยน้ำ
เช้าวันหนึ่งผมตื่นขึ้นมาเห็นปลาหางนกยูงนอนตายอยู่กับพื้น
รู้ว่ามันคงกระโดดออกจากอ่างปลาที่วางอยู่หน้าออฟฟิศ ย้อนกลับไปเมื่อคืนด้วยความที่ฝนมันตกทำให้หน้าออฟฟิศเลอะเทอะ
ด้วยคราบดินที่กระเด็นมาติด ตามด้วยใบไม้ที่ปลิวว่อนหลุดตกมาที่พื้น
ผมก็เลยล้างด้วยการฉีดน้ำ และก็ขัดเล็กน้อย นอกจากนั้นก็ไปเพิ่มน้ำในอ่างปลาหางนกยูง
อ่างปลาเป็นอ่างดินเผาแบบไม่ได้เคลือบน้ำยา
จึงซึมตามรูพรุนของเนื้อดินเผาตามธรรมชาติ ทำให้เกิดเฟิร์นและตะไคร่น้ำเกาะเขียวดูสวยไปอีกแบบ
เหมือนที่นักแต่งสวนชอบใช้ทำให้บรรยากาศร่มคลึ้ม
หลังจากเห็นปลาหางนกยูงตาย
1 ตัวทำให้ผมเกิดไอเดียอยากจะเขียนเรื่องนี้ ความจริงแล้วหน้าออฟฟิศผมก็มีบ่อปลาทอง
แต่สาระสำคัญของเรื่องมันไม่ใช่ปลาหางนกยูง หรือปลาทอง แต่เป็นวิธีคิดของมนุษย์ปุึถุชนคนหนึ่งเท่านั้น
ถ้าเราลองตั้งข้อสังเกตุให้ดีการที่ปลาหางนกยูงโดดออกจากอ่างปลาจะด้วยอะไรก็แล้วแต่
แต่ถ้ามองสนุกๆ เปรียบเป็นคนๆ หนึ่ง เขาอาจจะเบื่อที่อยู่ในที่จำเจ
วนว่ายอยู่ในอ่างน้ำชนผนังอ่างทุกวันจนรู้หมดแล้วว่าตรงไหนมีอะไร
เปรียบกับคนในสังคมเขาก็อยู่ในความจำเจบางคนพอใจ แต่บางคนก็อยากพบสังคมใหม่
โลกใหม่ วิธีคิดใหม่ แล้ววันหนึ่งเขาเกิดเปลี่ยนใจกระโดดออกมาจากสิ่งที่จำเจ
โดยที่เขาไม่รู้ว่าจะมีอะไรข้างหน้า จะพบโลกใหม่หรืออันตรายถึงชีวิต
เขาเรียกพวกอินดี้
ผมยกเรื่องนี้มาปรับใช้ชีวิตในการทำงาน
รวมถึงการใช้ชีวิตในสังคม ไม่ว่าคุณทำงานแล้ว หรือกำลังเรียนอยู่
แล้วมุมมองของผมก็เปลี่ยนไปจากหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมเคยอ่านมานานมากกว่า
15 ปี "ใครเอาเนยแข็งของฉันไป" (ลองดาวน์โหลดบทสรุปที่ได้จากหนังสือเล่มนี้แต่หนังสือต้องไปหาซื้อเอาเองผมแปะลิงค์ไว้ให้)
คราวนี้เปลี่ยนสถานะการณ์บ้างปลานกยูงตัวเดิมลอยติดอยู่ในกระลาลอยน้ำในบึงใหญ่
ปลาตัวนั้นก็ไม่รู้หรอกโลกภายนอกเป็นอย่างไร ก็ยังคงว่ายวนอยู่ในกระลา
ถ้าปลาตัวในพอใจเขาก็วนไปแบบไม่ต้องคิดอะไร กินตะไคร่น้ำ บางวันโชคดีหน่อยมียุงมาไข่ก็ได้ลูกน้ำแสนโอชะมาครอง
แต่ถ้าปลาเกิดขึ้นคิดใหม่เริ่มเบื่อที่จะว่ายวนซ้ำซากในที่เล็ก
ๆ จึงตัดสินในกระโดดออกมาโดยไม่รู้เหมือนกันว่าข้างนอกจะพบกับอะไร
แต่ปรากฎว่าสิ่งที่ปลาหางนกยูง โดดออกมากลายเป็นบึงกว้างใหญ่ อิสระกว่าเดิม
มีอาหารมากมายกว่าเดิม แต่อาจจะมีอันตรายบ้างจากปลา่ใหญ่กว่าคอยกัดกินปลาเล็ก
เปรียบกับคนและวิธีคิดในสังคมปัจจจุบันโลกแห่งเทคโนโลยี
มนุษย์สามารถมองเห็นได้มากกว่าปลามากนัก คือมนุษย์สามารถกระโดดออกมาได้เลย
แต่รู้ว่าเสี่ยงแค่ไหนกี่เปอร์เซนต์ เพียงแค่คุณมีกำลังใจเต็มเปี่ยม
และพร้อมจะก้าวข้ามออกมา คุณจะพบโลกใหม่อีกแบบ แต่ถ้าคุณมองเห็นแล้ว
คุณรู้แล้วแต่คุณไม่มีกำลังใจพอที่จะก้าวข้ามเพราะกลัวในสิ่งใหม่
ในสังคมไทยเขาจึงมีคำเปรียบเปรยว่า กบในกระลา
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธุรกิจ
เรื่องการใช้ชีวิต สังคมมุมมอง ไม่มีใครบอกใครได้ว่าคุณควรออกหรืออยู่ที่เดิม
คุณต้องตัดสินใจเอง
โลกใหม่มันรอเราอยู่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลข่าวสารทั่วโลกไหลวนเป็นน้ำที่เชี่ยวกราก มีทั้งขนมหวานและความขม
มีอิสระแน่นอนมีอันตรายบ้าง
ผมจะพูดว่าแค่เราหยุดแล้วมองเฉยเรากำลังจะถูกโลก
และสังคมโลกทอดทิ้ง ในภาษาการตลาดยิ่งวิ่งเร็วกว่านี้หลายเท่า
มากกว่าสังคมบัญชีจะว่าบัญชี ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยก็ไม่ใช่เพราะเราต้องรับมาตรฐานใหม่
ที่เป็นมาตรฐานใหม่ของโลกอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน เราปิดประเทศปิดตัวเองไม่ได้หรอก
ความเชื่อมโยงของบุคคล
ครอบครัว บ้าน เมือง สังคม ประเทศ จนไปถึงโลกมันสัมพันธ์โดยภาระหน้าที่
ถ้าคุณเป็นปลาตัวน้อยคุณพร้อมจะกระโดดออกมาหรือไม่
เป็นสิ่งที่คุณต้องตัดสินใจเอง
สาม
สอเสือ
http://eportfolio.hu.ac.th/library/images/stories/Bookonline/cheese.pdf
http://www.dla.go.th/work/kpinow/7ebook/pdf/4806.pdf