ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
มาตรา 40(4)
เงินได้ประเภทที่
4 มีรายละเอียดค่อนข้างมากแต่จะสรุปสาระสำคัญไว้พอประมาณ เงินได้ตามมาตรา
40 (4)
ก.เงินได้ที่เกิดจากดอกเบี้ย
เกือบทุกประเภทไม่ว่าจะมีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือไม่
ข.เงินปันผล
เงินส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้
ตามวรรคแรก ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้
และความเป็นสามีภริยาของบิดา และมารดา ได้มีอยู่ตลอดปีภาษี
ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยา
ของบิดา และมารดา มิได้อยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา
หรือมารดา ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือของบิดา ในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน
ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้โดยอนุโลม
ค.เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น
หรือผู้เป็นหุ้นส่วน ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ง.เงินลดทุนของบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไร
และเงินที่กันไว้รวมกัน
จ.เงินเพิ่มทุนของบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งจากกำไร และเงินที่กันไว้รวมกัน
ฉ.ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน
หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกันซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
ช.ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น
หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55)กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม
ประเภทออมทรัพย์ ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2538
บทสรุปบางข้อที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่น่าจะมีประโยชน์กับผู้อ่าน
ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
ในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ซึ่งใช้สมุดคู่ฝากในการฝากถอน
และไม่ใช่เช็คในการถอน ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม และมีจำนวนดอกเบี้ยรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน
20,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น
ข้อสังเกตุผู้เขียนเคยเห็นสมุดคู่ฝากบัญชีออมทรัพย์ของลูกค้าหลายรายที่เป็นบุคคลธรรมดา
รวมทั้งผู้เขียนด้วย ธนาคารจะหักภาษีเงินได้ผู้ฝากเงิน 2 รอบคือเดือนมิถุนายน
และธันวาคม ทั้งที่มีประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2538 การกระทำเช่นนี้ธนาคารน่าจะกระทำผิดกฎหมาย
แต่มักจะไม่มีใครทวงถาม เพราะถ้าหากมีการนำส่งกรมสรรพากร ถือว่าราชการไม่ประโยชน์